Sucralose D-et, 0Kcal/Sachet









  

สารให้ความหวาน

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวและโรคเบาหวาน ดังนั้นตลาดผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำจึงขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความพยายามที่จะค้นคว้าหาสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นด้วย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน เช่น ฟรุคโตส ซอร์บิทอล
2. สารให้ความหวานที่ ไม่ให้พลังงาน เช่น ซูคราโลส สตีวิโอไซด์ แอสปาร์แตม ซัคคารีน และอะซีซัลเฟมเค

ซูคราโลส (Sucralose)

คุณสมบัติ

               โครงสร้างทางเคมีซูคราโลส

ซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน ซึ่งถูกสร้างจากการใช้น้ำตาลซูโครสเป็นสารตั้งต้น แล้วแทนที่กลุ่มไฮดรอกซิล 3 ตำแหน่งด้วยอะตอมสารคลอไรด์ ทำให้มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับน้ำตาล แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่ยังคงให้รสชาติหวานและไม่มีรสขมติดลิ้นใกล้เคียงน้ำตาล ซูคราโลสมีลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวร่วน ละลายน้ำได้ดีและสามารถใช้ปรุงอาหารร้อนบนเตาได้โดยไม่สูญเสียความหวาน

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนการผลิตซูคราโลส

ความปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก(WHO)และองค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้การยอมรับความปลอดภัยของซูคราโลสตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ทำให้ประเทศต่างๆมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เช่น แคนาดา อเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป ได้ให้การยอมรับการใช้สารนี้ในอาหาร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

มีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของซูคราโลสมากกว่า 100 ชิ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของซูคราโลสต่อสิ่งแวดล้อมอีกกว่า 40ชิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าซูคราโลสไม่มีผลต่อระบบนิเวศน์ การศึกษาด้านความปลอดภัยของซูคราโลสมีการศึกษาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาเรื่องเภสัชจลนศาสตร์ การก่อกลายพันธุ์ ความเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ ผลต่อทารกในครรภ์ ผลต่อการเกิดมะเร็ง ผลต่อระบบประสาท และผลต่อระบบภูมิต้านทาน จากการทดลองซูคราโลสในระดับต่างๆไม่พบความเป็นพิษ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งผลนี้ก็คล้ายคลึงกับสารประกอบอื่นๆที่ดูดซึมยาก

แม้ว่าโครงสร้างของซูคราโลสจะคล้ายกับน้ำตาล แต่ก็ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน และไม่ทำให้ฟันผุ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เปรียบเทียบลักษณะรสชาติซูคราโลส สารให้ความหวานต่างๆ และน้ำตาล

เปรียบเทียบลักษณะรสชาติซูคราโลสและน้ำตาล

เปรียบเทียบลักษณะรสชาติแอสปาร์แตมและน้ำตาล

เปรียบเทียบลักษณะรสชาติอะเซซัลเฟม-เคและน้ำตาล

การยอมรับ

องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้ซูคราโลสเป็นวัตถุเจือปนในอาหารชนิดต่างๆ 14ชนิด ดังนี้
  1. Baked goods and baking mixes
  2. Beverage and beverage bases
  3. Chewing gum
  4. Coffee and tea
  5. Dairy product analogues
  6. Fats and oils (salads dressings)
  7. Frozen dairy desserts and mixes
  8. Fruit and water ices
  9. Gelatins and pudding
  10. Jams and jellies
  11. Milk products
  12. Processed fruits and fruit juices
  13. Sugar substitue
  14. Sweet sauces, toppings, and syrups
เอกสารอ้างอิง

 
  บริษัท ยูซิง จำกัด (สำนักงานใหญ่)
เลขที่ 136/10 ซ.บางขุนนนท์20 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ 10700
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105546143451          
โทรศัพท์: 0-2433-7317, 063-964-9244          โทรสาร: 0-2433-7316
เสนอแนะความเห็นของท่าน | สอบถาม | แจ้งปัญหาเวบไซต์ | ซื้อขายเชิงพาณิชย์